เมนู

แม้เทสนาญาณก็มี 2 คือ
1. ปวัตตนานะ (เทสนาญาณอันกำลังเป็นไป)
2. ปวัตตะ (เทสนาญาณอันเป็นไปแล้ว)
จริงอยู่ เทสนาญาณนั้น ชื่อว่า กำลังเป็นไป นับจำเดิมแต่โสดา-
ปัตติมรรคของพระอัญญาโกณฑัญญะ ในขณะแห่งผล เทสนาญาณ ชื่อว่า
เป็นไปแล้ว.
ในเทสนาญาณเหล่านั้น ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตตระ เทสนา-
ญาณเป็นโลกิยะ.

ก็ญาณแม้ทั้งสองนั้น เป็นโอรสญาณ (ญาณที่เกิดขึ้นในพระอุระ)
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ไม่ทั่วไปกับชนเหล่าอื่น.

วรรณนากำลัง 10 ของพระตถาคต


บัดนี้ เพื่อทรงแสดงกำลังแห่งพระตถาคตที่ทรงตั้งไว้ว่า เยหิ ทสหิ
พเลหิ สมนฺนาคโต ตถาคโต อาสภณฺฐานํ ปฏิชานาติ ยานิ อาทิโต
จ ทส ตถาคตสฺส ตถาคตพลานิ
ดังนี้ (แปลว่า พระตถาคตประกอบ
ด้วยกำลัง 10 เหล่าใด จึงทรงปฏิญาณฐานะอันประเสริฐ และกำลังเหล่าใด
ชื่อว่า กำลัง 10 ของพระตถาคต จำเดิมแต่ต้น) โดยพิสดาร จึงตรัสคำว่า
กตมานิ ทส อิธ ตถาคดต ฐานญฺจ ฐานโต เป็นอาทิ (แปลว่ากำลัง 10
ของพระตถาคต เป็นไฉน คือ พระตถาคตในโลกนี้ ย่อมทรงทราบธรรมที่เป็น
ฐานะ โดยความเป็นฐานะ เป็นต้น)

วรรณนากำลังของพระตถาคตข้อที่ 1


บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ฐานญฺจ ฐานโต ได้แก่ ทรงทราบ
ธรรมอันเป็นเหตุ โดยความเป็นเหตุ. ก็ เหตุ ย่อมให้ผลตั้งขึ้นในที่นั้น คือ